โดย นายแพทย์วิทูร จุลรัตนาภรณ์
ทำไมจึงต้องตรวจสุขภาพหัวใจแม้ไม่มีอาการ
เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคหัวใจมีผลกระทบต่อการมีชีวิตที่ปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการรุนแรง และบ่อยครั้งที่อาการเสียชีวิตฉับพลันเป็นอาการแรกที่รู้ว่ามีโรคหัวใจ ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจะมีโรคซ่อนอยู่โดยที่ยังไม่มีอาการอะไรมาซักระยะหนึ่งรอจนกระทั่งวันที่มีปัจจัยหลายอย่างเอื้ออำนวยให้เกิดเหตุการณ์เฉียบพลันขึ้น โรคหัวใจที่ซ่อนอยู่และยังไม่เคยมีอาการก็จะจะปรากฏขึ้นมา ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ตอนที่อาการเป็นมากแล้ว บางรายเสียชีวิตก่อนได้พบแพทย์โรคหัวใจการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและการตรวจหาหลักฐานของโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการมีส่วนสำคัญในการรักษาโรคหัวใจตั้งแต่เริ่มแรก นอกจากนี้การรักษาปัจจัยเสี่ยงโรคยังสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและภาวะแทรกซ้อนในอนาคตได้
โรคหัวใจมีหลายชนิดได้แก่โรคของเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ โรคของลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงโรคของเยื่อหุ้มหัวใจ และโรคของเนื้อเยื่อไฟฟ้าหัวใจโรคหัวใจเหล่านี้อาจพบได้มากกว่าหนึ่งโรคในคนเดียวกันและในเวลาเดียวกันเช่น โรคหัวใจโตอันเนื่องจากความดันโลหิตสูงร่วมกับไฟฟ้าหัวใจผิดปกติชนิดatrial fibrillationเป็นต้น การรักษาความดันโลหิตสูงจะสามารถลดการเกิดหัวใจโตและป้องกันatrial fibrillationได้โรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดและมีความสำคัญมากได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ(obstructive coronary artery disease)มักพบร่วมกับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง(Atherosclerotic vascular disease)เกิดจากไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดซึ่งเกิดขึ้นกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และหลอดเลือดของแขนและขา ในบางคนที่มีโรครุนแรงจะสามารถพบความผิดปกติดังกล่าวของหลอดเลือดหลายตำแหน่งในเวลาเดียวกัน ผู้ที่มีโรคดังกล่าวนี้มักเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภาวะหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง เราสามารถป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเหล่านี้ได้หากตรวจพบและรักษาตั้งแต่ระยะแรก
การตรวจสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดมีอะไรบ้าง
การตรวจสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดมีหลายวิธีได้แก่ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยการเดินสายพาน การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจหลอดเลือดแดงคาโรติดด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจสภาพหลอดเลือดแดงด้วยAnkle brachial indexเป็นต้น
ใครบ้างที่ควรรับการตรวจสุขภาพหัวใจ
ในผู้ที่ไม่มีอาการ หากมีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีประวัติโรคหัวใจในครอบครัว สูบบุหรี่ เป็นความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน มีภาวะอ้วน
ในผู้ที่มีอาการ อาการดังต่อไปนี้อาจเป็นอาการของโรคหัวใจได้แก่ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เป็นลมหน้ามืด หมดสติ ใจสั่น ขาและเท้าบวม
การป้องกันโรคหัวใจและภาวะแทรกซ้อน
- ลดบริโภคเกลือและอาหารรสจัด
- หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว
- รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยหนึ่งชามก๋วยเตี๋ยวขนาดใหญ่ต่อวัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน
- ลดความเครียด นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่องใส
Why do we need cardiovascular disease screening?
Cardiovascular disease is well known in public and it does affect the patient’s quality of life especially in the presence of symptom. In some patients, sudden death may be the first presentation of the disease. Majority of cases, the quiescent disease exists for many years until several factors aggravate the symptom.
Most of people seek medical consultation when they have significant symptoms or until late stage of disease. Few cases may die before medical consultation.
Identification of cardiovascular disease risk factors and detection of quiescent disease are important for treatment of early stage disease. Many clinical researches point out that treatment of risk factors can prevent future cardiovascular disease.
There are many kinds of cardiovascular diseases e.g., coronary artery disease (which involves artery to heart muscle), myocardial disease (which involves heart muscle), valvular heart disease (which affects heart valves), and cardiac arrhythmia (which affect electrical tissues of the heart). For example, patient with longstanding uncontrolled blood pressure may has thickening of heart muscle (called hypertensive heart disease) and atrial fibrillation (a kind of abnormal heart rhythm). Several clinical studies showed that treatment of hypertension can prevent hypertensive heart disease and atrial fibrillation.
To date, the most common cardiovascular disease is atherosclerotic cardiovascular disease (ASCVD). The ASCVD is caused by cholesterol deposition and chronic inflammation of the arterial wall. The disease frequently affects the arteries that supply the heart and the brain. Most of patient with heart artery disease and brain artery disease die from heart attack and brain attack (or stroke). The complications of ASCVD, heart attack and stroke, can be prevented by risk factor modification and medication (in selected cases) if we detect them early.
What does cardiac screening involve?
There are many tools for screening cardiovascular conditions including; blood tests, electrocardiogram, chest X ray, exercise stress test, echocardiography, carotid ultrasonography, ankle brachial index. You can consult the doctor for the appropriate screening program.
Who need cardiac screening?
People with age at least 40 years, family history of heart disease, smoking, high blood pressure, diabetes and obesity should receive cardiac screening. People who have symptom which suspected heart disease such as chest pain, unusual tiredness or breathing problem, syncope, palpitation and bilateral leg edema should receive cardiac investigation.
How to prevent heart disease and its complication?
- Do not overuse salt
- Avoid saturated fat and trans fat
- Regularly taking fresh fruits and vegetables
- Regular exercise at least 30 minutes a day
- Smoking cessation
- Stress management
- Adequate sleep
แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
Pacakge >> Click!